OPINION

ข้างหลังรอยยิ้ม : เรื่องของ smiling depression

สุรพร เกิดสว่าง
5 พ.ย. 2561
“She's so lucky, she's a star
But she cry, cry, cries in her lonely heart, thinking
If there's nothing missing in my life
Then why do these tears come at night”
 
เพลงดัง “Lucky” ของ Britney Spears ในปี 2000 เล่าถึงเรื่อง ดาราสมมติชื่อ Lucky ที่ประสบความสำเร็จในทุกอย่างที่ต้องการ ภายนอกดูดีเป็น superstar แต่ระทมทุกข์อยู่ภายใน ซึ่งเรื่องของ Lucky ดูไปพ้องกับชีวิตจริงของดาราและนักร้องหลายคน
 
นิตยสาร Rolling Stone เชื่อว่า Lucky ในเพลง ก็คือความรู้สึกของ Britney กับชีวิตตัวเอง และช่วงชีวิตต่อมาของเธอที่เต็มไปด้วยความยุ่งยาก ก็ดูเหมือนจะบอกว่า Lucky คือ ฺBritney จริงๆ  
 
“Lucky” ไม่ได้เป็นกับ celeb เท่านั้น แต่ในสังคมรอบตัวเรานี้ มีหลายคนมีชีวิตแบบ Lucky และดีไม่ดี อาจเป็นตัวเราเองก็ได้



อาการที่มีความหดหู่ซึมเศร้าอยู่ข้างใน แต่ภายนอกดูไม่ออก เพราะยังยิ้มแย้มแจ่มใสนี้ มีคำเรียกว่า “smiling depression”
 
Smiling depression เป็นศัพท์อย่างไม่เป็นทางการ และไม่ใช่อาการที่สามารถวินิจฉัยอย่างเป็นทางการตาม official manual ทางจิตวิทยา  แต่คำนี้ก็มีการใช้กันแพร่หลาย โดยเฉพาะในนักจิตบำบัดหรือ psychotherapists  ครอบคลุมทั้ง depression อ่อนๆ ไปจนถึง depression อย่างหนัก 
 
นักจิตวิทยาดังอย่าง Melanine Greenberg เจ้าของหนังสือ The Stress-Proof Brain เรียก smiling depression ว่าเป็น “high-funcitoning depression” ซึ่งหมายความว่า เป็น depression ที่ยังดูเหมือนดำเนินชีวิตได้ราวกับปกติ 
 
นั่นหมายความว่า คำว่า depression ในที่นี้ อาจไม่เหมาะที่จะแปลว่า “ซึมเศร้า” เพราะไม่ได้มีความซึมเศร้าปรากฏออกไปให้เห็น
 
คนที่เป็น smiling depression มักมีชีวิตที่ดูดีไม่ต่างจากคนทั่วไป หรืออาจจะดูดีมากกว่าคนทั่วไปด้วยซ้ำ ด้วยรอยยิ้มและ life style ที่แม้กระทั่งคนทั่วไปอาจอิจฉา ไม่ว่าจะเป็น การเล่นกีฬา ไปยิมออกกำลัง ฟังเพลงเล่นดนตรี หรือร่วมในกิจกรรมท้าทายและการออกสังคมมากมาย หลายคนมีการงานที่ดี มีการศึกษาดี และมีความสามารถหลายอย่าง รวมทั้งชีวิตคู่หรือครอบครัวที่ดูดี
 
แต่ลึกลงไปแล้วในใจของคนที่เป็น smiling depression คือความว่างเปล่า ไร้ความหมาย และความทุกข์ใจที่แผ่ขยายอยู่ตลอดเวลา จนสามารถสรุปได้ว่า เป็นชีวิตที่ไม่มีความสุข ไปจนถึงไม่มีความสุขเอาเลย
 
เหตุการณ์ที่ควรจะมีความสุขได้ อย่างเช่น ไปเที่ยวตามที่ต้องการ ไปงานปาร์ตี้ที่อยากไป แต่พอถึงเวลา ก็ไม่ได้มีความสุขอย่างที่หวัง โดยไม่รู้ว่าทำไม หลายอย่างที่รอคอยอย่างใจจดจ่อ พอถึงเวลาจริงกลับไม่อยากทำ ไม่อยากได้ ไม่แคร์ไปเสียงั้น บางครั้งโล่งใจที่นัดถูกยกเลิกด้วยซ้ำ
 
คน smiling depression มักพยายามจัดการกับความหดหู่ด้วยการหาเรื่องหันเหความสนใจ  เช่น หาเรื่องซื้อของใหม่อยู่ตลอดเวลา ทั้งที่ซื้อมาแล้วก็ไม่ได้ใช้ หรือ ไปเที่ยวแล้ว เที่ยวอีก แบบหยุดไม่ได้ ถึงแม้เวลาเที่ยวจะไม่ได้มีความสุขเหมือนที่หวังก็ตาม ซึ่งวิธีเหล่านี้ ก็ไม่ได้ผลยั่งยืนอยู่ดี เพราะไม่ได้เผชิญหน้าจัดการกับปัญหา 
 
และนั่นเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้คนภายนอกมองเห็นชีวิตเขาเหล่านี้ว่า เต็มไปด้วยกิจกรรมน่าสนใจ และตีความว่าชีวิตคนเหล่านี้ต้องมีความสุขเป็นแน่
 
ซึ่งตรงกันข้ามกับสภาพจิตใจของเจ้าของชีวิตนั้นอย่างแรง ที่มองไปทางไหนก็ดูไม่มึความหมาย ที่ทำโน่นนี่ไปมากมาย ก็ทำไปอย่างงั้นเพื่อจะได้ลืมเรื่องแย่ๆ
 
คำถามที่คนภายนอกไม่เข้าใจคือ “ดูแล้วชีวิตก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรมากมาย ทำไมถึงเกิด depression ได้?”
 
คำตอบคือ ที่จริงแล้ว ชีวิตมีปัญหาหรือไม่ เป็นเรื่อง subjective แล้วแต่จะมอง คนอื่นอาจบอกว่าดี แต่เจ้าของชีวิตคิดว่าไม่ดีเลวร้ายสุดๆ ก็ได้ 
 
เพราะความจริงมีอยู่ว่า ใครจะตกอยู่ในสภาพ depression นั้น เป็นเรื่องที่คนภายนอกไม่สามารถไปตัดสินได้ว่าควรหรือไม่ควรเป็น ด้วยเหตุว่า ยังมีรายละเอียดอีกมากมายที่คนอื่นไม่มีทางล่วงรู้ ไม่ว่าจะเป็น trauma หรือปัญหาบาดเจ็บทางจิตใจที่ฝังใจ,  ความรู้สึกผิด guilty,  ความรู้สึกผิดหวังตนเอง, สารพัดเรื่อง ไปจนถึงปัญหาเรื่อง nuero หรือที่เรียกกันว่า chemical imbalance ในระบบประสาท ซึ่งเป็นเรื่องที่เจ้าตัวไม่สามารถควบคุมได้เลย 
 
นักจิตวิทยาบอกว่า กลุ่มคนที่เสี่ยงกับการเป็น smiling depression คือ 1. คนที่เป็น introvert มากๆ ไม่สามารถแสดงออกอารมณ์ได้ ไม่กล้าที่จะระบายหรือสื่อสารให้ใครๆได้เข้าใจ ทำให้เก็บเรื่องแย่ๆไว้กับตัวแต่ผู้เดียว
 
หรือ 2. คนที่เป็น perfectionnist คือ อะไรก็ต้องเนี๊ยบ เป็นไปตามมาตราฐานสูงที่ตนเองตั้งไว้ โดยเฉพาะการคาดคั้นเอากับตนเองว่าต้องทำให้ดีให้ได้ เมื่อไม่ได้ ก็ลงโทษตนเองด้วยความรู้สึกที่แย่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องรู้สึกผิดมากนัก แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ความรู้สึกทั้งหมดดีขึ้นอยู่ดี หรือ 3. คนที่มีความรับผิดชอบสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของครอบครัว ไปจนถึงการงานหรือสังคม
 
แต่ถึงไม่ได้อยู่ในสามกลุ่มนี้ ก็ย่อมมีทางเป็น smiling depression ได้เสมอ ด้วยเงื่อนไขเฉพาะเคสเป็นรายๆไป เช่น ปัญหา “It’s complicated” ของความรัก การเลิกกัน การตกงาน ปัญหาเรื่องงาน ปัญหาการเงิน ที่ทำให้รู้สึกว่า เราไม่สามารถควบคุมจัดการกับมันได้ รวมถึงคนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมวัตถุนิยมจัด ก็มีโอกาสเป็น smiling depression ได้มากกว่าคนทั่วไป 
 
คำถามอีกคำถามคือ “แล้วทำไมถึงยัง smile ได้ ?”
 
นักจิตวิทยาอธิบายว่า นั่นเป็นเพราะ หลายคนที่มีความสามารถที่จะปรับ mode เป็นการเข้าสังคมด้วยมารยาทและการปฏิสัมพันธ์ที่ดีได้ทันทีเมื่อต้องการ ถึงแม้ว่าตนเองจะไม่ได้รู้สึกดีอย่างนั้น
 
ส่วนหนึ่งมาจากหน้าที่ในสังคมต้องทำเช่นนั้น อีกทั้งเป็น skill ที่พัฒนามาจากการเข้าสังคมเป็นประจำ และความสามารถนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่าง automatic แทบไม่ต้องใช้ความพยายาม 
 
ซึ่งไม่น่าประหลาดใจ เพราะ เราคงเคยเห็นเจ้าภาพงานศพที่ยิ้มแย้มต้อนรับแขก หรือ คนที่พึ่งเลิกกับแฟนสามารถเฮฮากับเพื่อนราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น และเราทุกคนรู้ดีว่าจะแบกหน้าอมทุกข์ไปหาลูกค้าทั้งวันทั้งเดือนย่อมไม่ professional
 
แต่ในกรณี smiling depression นั้น การเปลี่ยน mode เป็น smile เมื่อเข้าสังคมเป็นไปอย่างค่อนข้างถาวร จนไม่มีใครล่วงรู้ได้ว่าสภาพจิตใจภายในนั้นย่ำแย่ขนาดไหน ในงานศพเรายังรู้ว่าเจ้าภาพยิ้มไปตามมารยาท แต่สำหรับ smiling depression ไม่มีใครรู้ คนอื่นนึกไปว่ามีความสุขจริง
 
Greenberg เจ้าของหนังสือ The Stress-Proof Brain จึงตั้งข้อสังเกตุว่า คนที่เป็น smiling depression มักเป็นคนที่มีสถานภาพสังคมดี เพราะมีความจำเป็นที่ต้องสวมหน้ากากยิ้มไว้ตลอดเวลา 
 
2.บางคนรู้สึกกลัวหรืออายที่จะยอมรับว่าตัวเองมีปัญหา จึงพยายามกลบเกลื่อนทั้งตนเองและผู้อื่นด้วยการยิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งก็คือการปกป้องตนเอง หรือ self-defense mechanism รูปแบบหนึ่ง
 
ส่วนบางคนไม่ได้อาย แต่ต้องปกปิดเพราะกลัวจะเสียอนาคตการงาน รวมถึงกลัวคนรอบข้างเป็นห่วง ซึ่งก็ไม่น่าประหลาดใจ เพราะ psychologyspot.com อ้างอิงว่า 71% ของคนที่เป็น depression พยายามซ่อนอาการไว้ และ survey ของ Womem’s Health and the National Alliance of Mental Illness (NAMI) ก็บอกว่า 89% ของผู้หญิงที่เป็น depression เลือกจะปิดบังเรื่องนี้ไว้ 
 
นอกจากนั้น การเลี่ยงที่จะบอกใครว่าเป็น depression ยังมาจากทัศนะของที่มองว่า คนที่เป็น depression คือคนอ่อนแอ เราอาจะเคยได้ยินความเห็นทำนองว่า  “ชีวิตก็ดีกว่าคนอื่นเป็นไหนๆ ทำไมคนที่ลำบากกว่ายังไม่เห็นมีปัญหา แค่นี้ก็สู้ชีวิตไม่ได้แล้ว” ซึ่งหมายถึง “คนที่เป็น depression = คนขี้แพ้” 
 
ทัศนะลบแบบนี้นี่เอง ที่ผลักดันให้คนที่เป็น smiling depression อยู่แล้ว พยายามซ่อนอาการไว้ให้มิดชิดมากขึ้นไปอีก เช่น ยิ่งทำชีวิตให้ hyper active เพื่อที่จะได้ดูห่างไกลจากอาการ depression แต่หากบริหารจัดการความเครียดจากชีวิตแบบ hyper acitive ไม่ได้ ก็จะยิ่งเพิ่มความ depress ให้มากขึ้น กลายเป็น negative feedback loop ที่ซ้ำเติม
 
3. บางคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตนเองเป็น depression โดยคิดว่าหากแก้ปมปัญหาได้แล้ว อาการเศร้าหดหู่ก็จะหายไปเอง หรือไม่ก็เวลาจะทำให้ดีขึ้นได้เอง นอกจากนั้น ความที่ตนเองสามารถมีชีวิตเสมือนปกติทั้งการงานและการเข้าสังคม ก็เป็นการช่วยย้ำความมั่นใจว่า ความรู้สึกหดหู่เหล่านั้นไม่น่าใช่เรื่องซีเรียส
 
แต่ที่ปรากฏสำหรับคนเป็น smile depression ก็คือ ถึงแม้ว่าปัญหาจะคลี่คลายแล้ว หรือวันเวลาผ่านไป ก็ยังไม่ทำให้จิตใจดีขึ้นสักเท่าไหร่ หากกลับไปอยู่ในสภาพย่ำแย่อย่างเดิม ซึ่งตนเองก็หาสาเหตุไม่ได้ หนีจากสภาพจิตใจเช่นนี้ไม่ได้ วนเวียนอยู่เช่นนี้  
 
Rita Labeaune จิตแพทย์เจ้าของคลีนิคใน Beverly Hills มีความเห็นว่า smiling depression อาจอันตรายกว่า depression ธรรมดาเสียอีก เพราะไม่มีใครรู้ว่ากำลังเป็น รวมถึงเจ้าตัวด้วย ทำให้ไม่ได้รับการบำบัด และสะสมจนถึงจุดอันตราย
 
อีกทั้งคนที่เป็น smiling depression ยังมีพลังพอที่จะหันมาทำร้ายตนเองอย่างการวางแผนฆ่าตัวตายได้ ในขณะที่คนเป็น depression แบบออกอาการซึมเศร้าให้เห็น มักจะไร้ความพยายามใดๆ
 
นักจิตวิทยาให้ checklist คร่าวๆ สำหรับอาการน่าสงสัย คือ นอนไม่หลับ เหนื่อยง่าย กระวนกระวายใจง่ายและบ่อย กังวลไปเกือบทุกเรื่อง ตัดสินใจยาก โมโหง่าย/รำคาญง่าย/ น้อยใจง่าย (แต่ไม่แสดงออก)
 
หากมีอาการแบบนี้เบื้องหลังรอยยิ้มแล้วละก็ ให้ระวังไว้ ทางออกเบื้องต้นคือ หาคนที่รู้ใจ ที่เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ใช่ขาเมาท์ หรือขา gossip  แล้วระบายความอึดอัดให้ฟังอย่างได้ใจความ ก็จะช่วยบรรเทาได้
 
และถ้าเป็นมาก ก็คงต้องไปหาจิตแพทย์หรือ counseller ซึ่งในยุคปัจจุบันของสังคมไทย ไม่ใช่เรื่องน่าอายเหมือนในอดีตแล้ว (เพียงแต่เก็บไว้เป็นเรื่องส่วนตัว อย่าให้มีคนรู้มากเกินไป)
 
เพราะอย่างน้อย National Institute of Mental Health ของอเมริกาบอกว่า คนถึง 1 ใน 10 เป็น depression ซึ่งก็คงไม่น่าแตกต่างมากมายจากประเทศอื่นๆ รวมถึงไทย
About the Author
background จากการศึกษาและทำงานด้าน การเงินการธนาคาร เศรษฐศาสตร์ และ IT เชื่อว่าคนเราสามารถหาความสุขได้ง่ายๆจากความอยากรู้อยากเห็นและความสงสัย นอกจากการอ่านและเขียนแล้ว เขาใช้ชีวิตกับกิจกรรม outdoor หลากหลายชนิด
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
แบงก์ 100 ยูเอส สอดไว้ในพาสปอร์ต ห้ามให้ใครเห็นแล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่ ตม. ตรวจคนเข้าเมืองทำการจ๊อบพาสปอร์ตเพื่อแลกกับการได้วีซ่า 1 เดือน เพียงแค่นี้ก็กลับไปทำงานที่บาห์เรนได้อีกครั้ง
 
โลกของความเศร้า บางครั้งเป็นสิ่งที่คนอยากมองข้าม แต่สำหรับผม มันคือความสวยงามที่เจ็บปวด