การทำความเข้าใจเป่ายิงฉุบ จึงมีความสำคัญ เพราะอาจนำพาไปสู่ความเข้าใจในความเป็นไปของสรรพสิ่งรอบตัว ตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงกลุ่ม และอาจสามารถคาดการณ์เหตุการณ์บางอย่างได้ล่วงหน้า ความรู้ที่ได้อาจนำมาใช้ในการบริหารจัดการสังคม ไปจนถึงแม้กระทั่งการจัดการเรื่องโรคระบาด
ไม่มีใครไม่รู้จักเป่ายิงฉุบ และเชื่อกันว่า โดยทั่วไปแล้ว เป็นเกมที่ไม่มีใครหวังชนะได้จริงจัง เพราะทุกรอบที่เล่นแต่ละฝ่ายมีโอกาส ⅓ คือ ชนะ แพ้ และ เสมอ แล้วแต่ “ดวง” หรือการเลือกอาวุธสู้ ซึ่งเชื่อว่า การเลือก ไม่ว่าจะเป็น ก้อนหิน กระดาษ หรือ กรรไกร นั้น เป็นไปอย่าง random หรือเดาสุ่ม เราไม่มีทางรู้ว่าคู่แข่งจะเลือกอาวุธอะไรล่วงหน้า แม้แต่ตัวเราเองก็ไม่รู้ว่าจะเลือกสิ่งใดในรอบต่อไป ทุกอย่างเป็นไปอย่าง sponteneous ฉับพลัน ใช้เวลาเลือกเพียงเสี้ยวของเสี้ยววินาที
ด้วยเหตุนี้ เป่ายิงฉุบ จึงน่าจะเป็นเกมที่หา strategy อะไรไม่ได้เลย เพราะทุกคนมีโอกาสเท่าๆกัน ไม่มีใครได้เปรียบหรือเสียเปรียบ หรือไม่มีที่ใครจะทำให้คู่ต่อสู้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบได้ ทั้งหมดดูจะพึ่งดวงล้วนๆ
แต่ทว่า ในความเป็นจริง เป่ายิงฉุบ ไม่ใช่เกมง่ายๆอย่างนั้น
เพราะในความเป็นจริง พบว่า ผู้เล่นเป่ายิงฉุบไม่ได้เลือกอาวุธอย่าง random หากพยายามเดาใจอีกฝ่ายว่าจะเลือกอะไร หรืออีกนัยหนึ่งคือ พยายามมองหา pattern หรือรูปแบบของการเล่าของฝ่ายตรงข้าม ทั้งที่แต่ละฝ่ายอาจไม่มี pattern อะไรในการเลือกอาวุธเลย
เช่นเดียวกับการมองเมฆให้เป็นรูปภาพ เมื่อต่างคนต่างคิดว่า มี pattern แอบแฝงอยู่ ก็เกิดสิ่งที่เรียกว่า self fufilling prophecy คือ เมื่อคิดว่ามันเป็นจริง ก็จะเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาจริงๆ และนั่นทำให้ เป่ายิงฉุบ กลายเป็นเกมแห่งจิตวิทยา ไม่ใช่แค่เกมที่ขึ้นอยู่กับดวงเสียแล้ว

จากการศึกษาของ Zhijan Wang ที่ Zhejiang University ที่จีนจากคน 360 คนที่เล่นถึง 300 รอบ (ถือว่าเป็นการศึกษาเป่ายิงฉุบขนาดใหญ่ที่สุด) ซึ่งผู้เล่นจะได้เงินจริงตามการชนะสะสม พบว่า ผู้เล่นมักจะเลือกอาวุธเดิมๆถ้าเกิดชนะ และไม่เลือกอาวุธที่พึ่งทำให้แพ้ ซึ่่งก็คือ “win-stay lose-left strategy” หรือ “ถ้าชนะ-ทำซ้ำอีก ถ้าแพ้-เปลี่ยน”
เช่น ถ้าเผอิญก้อนหินชนะกรรไกรบ่อยๆ ผู้เล่นก็จะเลือกก้อนหินบ่อยขึ้น ส่วนอีกฝ่ายเมื่อรู้สึกว่าโดนก้อนหินพิฆาตกรรไกรอยู่เรื่อย ก็เลี่ยงที่จะใช้กรรไกรในที่สุด ทำให้เกมเข้าสู่ phase ใหม่ในการเปลี่ยนอาวุธที่ใช้โต้ตอบกัน เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ
การที่ต่างคนต่างคิดแบบนี้ ทำให้เป่ายิงฉุบไม่ใช่เกมแบบ random อีกต่อไป เพราะการตอบโต้ของแต่ละคนต่างถูกโน้มน้าวด้วยพฤติกรรมของอีกฝ่าย เรียกว่าเป็น conditional response หรือ การตอบโต้แบบมีเงี่อนไข ไม่ใช่ตอบโต้แบบเด่าสุมล้วนๆที่ไร้กฎเกณฑ์แบบเกมเป่ายิงฉุบในทฤษฎี
เมื่อเป็นดังนี้ จึงทำให้เกมป่ายิงฉุบในความเป็นจริง มีความเป็น random น้อยลง อีกทั้งการคิดแบบเดียวกันนี้ ทำให้พฤติกรรมของผู้เล่น converge หรือมีแนวโน้มกลายเป็น pattern ขึ้นมาจริงๆ ทั้งที่โดยตัวเกมเองแล้ว ควรจะเป็นไปอย่าง random ที่ไม่ได้มี pattern อะไรเลย
ที่น่าประหลาดใจอีกก็คือ ดูคล้ายกับว่า การเอา strategy มาใช้กับเกมเป่ายิงฉุบ ไม่น่าจะเป็นผลดี เพราะทำให้ระบบมีความ bias เสียความสมดุล ไม่เหมือนกับการเล่นเป่ายิงฉุบแบบเดาสุ่มล้วนๆหรือ pure random ซึ่งมีความสมดุล เพราะไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบใคร แต่ปรากฏว่า การเอา strategy มาแทรกแซงในเกมกลับให้ผลตอบแทนมากกว่าการเล่นเป่ายิงฉุบแบบ random ถึง 10%
Robert Goldstone แห่ง Indiana University บอกว่า การพยายามเดาใจกันในการแข่งขันเป่ายิงฉุบ ทำให้เกิดการ synchronize หรือการร่วมมือกันโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่นเดียวกับ การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งที่จริงเป็นการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ แต่กลับกลายเป็นการร่วมมือกันด้วยไม่รู้ตัว เพราะเป็นไปตามตรรกะอย่างเดียวกับเกมเป่ายิงฉุบ
ในการแข่งขันทั่วไป comonsense บอกเราว่า หาก A เก่งกว่า B และ B เก่งกว่า C ย่อมหมายความว่า A ต้องเก่งกว่า C ด้วย ดังนัั้น หากมีการแข่งขันกัน นอกจาก A ควรจะชนะ B แล้ว ก็ควรจะชนะ C ด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย สถาพการแข่งขั้นนี้เรียกว่า “transitive competition” ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ผลลัพธ์เป็นไปตามความเก่งตามลำดับชั้น โดยคนที่เก่งที่สุดก็คือผู้ชนะสูงสุด
ทว่า ยังมีการแข่งขันอีกแบบที่เรียกว่า “intransitive competition” อันเป็นการแข่งขันที่ไม่มีโครงสร้างลำดับชั้น แต่เป็นการผลัดกันชนะ นั่นคือ A ชนะ B กับ C แล้วต่อมา B ชนะ A กับ C จากนั้น C เป็นผู้ชนะ A กับ B บ้าง วนเป็น cycle หรือวงจร
และการแข่งขัน intransitive competition นี้เอง ที่เหมือนการเล่นเป่ายิงฉุบ ผลัดกันชนะ แถมเป็นการแข่งขันที่ปรากฏจริงในธรรมชาติหรือ Law of Natural Selection เสียด้วย
โดยปกติของการแข่งขัน ผู้ที่แข็งแรงที่สุด เก่งที่สุด คือผู้ที่อยู่รอด ในการแข่งขันระหว่าง species ผู้ที่แข็งแรงที่สุดก็น่าจะเป็นผู้ที่อยู่รอดเช่นกัน ซึ่งหมายความว่า สุดท้ายแล้วควรจะเหลือเพียงไม่กี่ species ที่เป็นผู้ชนะ
แต่ในความเป็นจริงโลกกลับเต็มไปด้วย species ต่างๆมากมายถึง 1 ล้านล้าน species แทนที่จะเหลือผู้ชนะสูงสุดอยู่ไม่กี่เผ่าพันธุ์ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
คำตอบคือ เพราะการแข่งขันเพื่อคัดเลือกเผ่าพันธุ์โดยธรรมชาติ หรือ natural selection นั้น เป็นการแข่งขันแบบเดียวกับเกมเป่ายิงฉุบหรือ intransitive competiton ที่ไม่มีใครชนะแล้วจบ หากผลัดกันชนะไปเรื่อยๆ จึงทำให้เผ่าพันธุ์คู่แข่งสามารถอยู่ร่วมกันได้ ไม่มีใครกำจัดใครได้เด็ดขาด เกิดเป็นความหลากหลายทางชีวภาพหรือ biodiversity อันมีคุณค่ายิ่งต่อระบบธรรมชาติโดยรวม
Species ที่ชนะในแต่ละ cycle อาจไม่ได้เป็น species ที่เก่งที่สุด เช่นเดียวกับระหว่าง ก้อนหิน กระดาษ และกรรไกร แน่นอนว่าไม่มีใครเก่งสุด แต่ละ species ย่อมมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบที่ต่างกัน ทำให้สามารถผลัดกันชนะหรือแพ้ในสถานการณ์ที่ต่างกัน หรือทนทานต่อสภาพแวดล้อมแบบต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ต่างกัน
เหมือนอย่างที่มีคำกล่าว (ที่มักเชื่อว่าเป็นของ Charles Darwin แต่จริงๆไม่ใช่) ว่า “ผู้ที่อยู่รอด ไม่ใช่ผู้ที่เก่งที่สุด แต่เป็นผู้ที่ปรับตัวได้มากที่สุด” และการเข้ามาอยู่ในเกมเป่ายิงฉุบ ผลัดกันแพ้ชนะกับ species คู่แข่ง ก็คือการปรับตัวแบบหนึ่ง
ความหลากหลายทางชีวภาพนี้มีความจำเป็นยิ่ง เพราะหากไปทำลายล้าง species ที่เป็นคู่แข่งให้หมดสิ้นไป แทนที่ species ที่เหลือจะอยู่สบาย เพราะไม่ต้องกลัวคู่แข่งแล้ว กลับอาจจะสูญพันธุ์ตามไปด้วย
สาเหตุก็เพราะ เมื่อ species หนึ่งหายไป ระบบ biodiversity จะขาดความสมดุล species ที่เหลือจะแข่งกันรุนแรง สภาพแวดล้อมเสียหาย หรือผู้ชนะที่เหลืออาจจะขยายพันธุ์จนทำลายสภาพแวดล้อมทั้งหมด ซึ่งหมายถึงทำลายตัวเอง และในที่สุด และท้ายสุดก็อาจจะไม่เหลือเผ่าพันธุ์ที่เคยมีในพื้นที่นั้นเลย เช่น ขยายพันธุ์จนอาหารไม่พอ หรือเกิดสังคมที่ใหญ่เกินไป มีความขัดแย้งเกินไป จนต้องหันมาทะเลาะฆ่ากันเอง
เช่นเดียวกับถ้าเอาก้อนหินออกไป ความสมดุลของเกมเป่ายิงฉุบก็จะสูญสิ้นในทันที เมื่อเหลือแค่กรรไกรกับกระดาษ ที่กรรไกรย่อมเป็นผู้ชนะเด็ดขาด และเกมก็จบสิ้นลงในทันทีเช่นกัน หรือไม่น่าสนใจ จนไม่มีใครคิดจะเล่น
ด้วยเหตุนี้การอนุรักษ์เผ่าพันธุ์หรือ species ใดๆควรจะกระทำทั้ง ecosystem ถึงจะสำเร็จจริง ไม่ใช่เจาะจงเลือก species เดียว ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย
เกมเป่ายิงฉุบ ไม่เพียงแต่เล่นโดยธรรมชาติเท่านั้น ในงานศึกษาของ Indiana University สรุปว่า เกมเป่ายิงฉุบปรากฏอยู่ในโลกของเศรษฐกิจการเงิน การจัด portfolio การลงทุนในตลาดหุ้นและตลาดเงิน การประมูลใน eBay การเมืองทั้งระดับประเทศและใน office ที่ถึงแม้เป็นการแข่งขัน แต่คู่แข่งทั้งหลายยังอยู่ร่วมกันได้ ทำให้ระบบนั้นดำเนินต่อไปได้
ดังนั้น หากใครคิดจะกำจัดศัตรูคู่แข่งให้สิ้นซากไป อาจต้องคิดใหม่ เพราะนั่นอาจทำให้เกมเป่ายิงฉุบ ที่ทำให้พอจะอยู่ร่วมกันได้ ต้องจบลง กลายเป็นเกมต่อสู้ประจันหน้ากับคู่แข่งที่น่ากลัวกว่า ซึ่งอาจไม่ใช่สิ่งที่พึงประสงค์
หรือถ้าตนเองบรรลุความเป็นผู้ชนะสูงสุดได้แต่ผู้เดียวจนได้ ก็อาจเป็นชัยชนะที่โดดเดี่ยว กลายเป็นเป้าเด่นที่หลายฝ่ายหันมาเล่นงาน เพราะไม่มีใครไว้ใจระบบที่ขึ้นอยู่กับคนคนเดียวได้นาน
เพราะหลายครั้งของการแข่งขั้นนั้น คู่แข่ง vs มิตร นั้น ที่จริงก็คือสิ่งเดียวกัน แม้ว่าดูเผินๆจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ตาม