ON LOOKER

“futoko” หายนะที่ทำให้เด็กไม่ไปโรงเรียน

24 ม.ค. 2563
เหตุใดเด็กจำนวนหลายคนตัดสินใจไม่ยอมไปโรงเรียน ปัญหาหลักๆที่เกิดขึ้นในสังคมญี่ปุ่นตอนนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นถูกเรียกว่า “futoko” จึงทำให้เป็นที่ตั้งคำถามกันว่า ฟูโตโก๊ะ เกิดจากรูปแบบการศึกษาหรือปัญหามาจากตัวนักเรียน



มีเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น เด็กญี่ปุ่นชื่อ ยูตะ อิโต๊ะ เด็กวัย 10 ขวบ มีพฤติกรรมไม่ยอมไปโรงเรียนหลายครั้ง ตัดสินใจบอกพ่อกับแม่ของตนว่าไม่อยากไปโรงเรียน ก่อนทราบเหตุผลว่าเขาโดนทำร้ายและมีปัญหากับเพื่อนนักเรียนร่วมชั้นประจำ คำถามคือแล้วพ่อแม่เขาจะคิดอย่างไร ได้คำตอบมาว่า พ่อกับแม่ของยูตะคิดทางออกเรื่องนี้ได้ 3 ทาง 1. นำยูตะไปเข้ารับคำปรึกษาขอคำแนะนำจากทางโรงเรียน 2. ให้ยูตะเรียนอยู่ที่บ้าน 3. ส่งเข้าโรงเรียนอิสระ และเป็นที่แน่ชัดว่าพ่อกับแม่ยูตะเลือก ส่งเข้าโรงเรียนอิสระ และเป็นเรื่องดีหลังจากที่ยูตะย้าย เขาดูมีความสุขไปกับมัน เพราะเขาได้ทำในสิ่งที่อยากทำเสียที



เรื่องน่ารู้ของ “โรงเรียนอิสระ” ในญี่ปุ่น
โรงเรียนอิสระนี้เป็นโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระและมีความเป็นปัจเจกบุคคล ซึ่งการศึกษาประเภทนี้ได้รับความนิยมมากกว่าภาคบังคับ หรือการเรียนที่บ้าน เพียงแต่ว่าจะมีข้อเสียสำคัญอยู่คือคุณจะไม่ได้รับใบวุฒิการศึกษา ซึ่งล่าสุดนี้ยอดตัวเลขของนักเรียนที่ตัดสินใจย้ายเข้าโรงเรียนอิสระมากกว่าอยู่โรงเรียนปกติภาคบังคับ ยอดพุ่งสูงไปถึง 20,346 คน จากเดิมช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมายอดยังเพียงแค่ 7,424 คน
           
ผลกระทบของเด็กทีย้ายโรงเรียนกะทันหัน
การเปลี่ยนโรงเรียนบ่อย ย้ายโรงเรียนกลางคัน ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก อาจก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ คือการไม่ยอมเข้าสังคม และไม่อยากออกไปในที่สาธารณะ ซึ่งภาวะนี้ที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “Hikikomori” ฮิกิโกะโมริ อาจส่งผลกระทบทางตรง และหากกระทบกระเทือนจิตใจเยอะ ก็จะเสี่ยงฆ่าตัวตายได้ ซึ่งยอดนักเรียนญี่ปุ่นฆ่าตัวตายจากปี 2018 เสียชีวิตเป็นจำนวน 332 คน เป็นปรากฏการณ์ยอดเด็กเสียชีวิตมากที่สุดในญี่ปุ่นในรอบ 30 ปี เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นต้องหาวิธีป้องกันเรื่องนี้เป็นวาระแห่งชาติ จึงต้องออกกฎหมายใหม่ ป้องกันการฆ่าตัวตายในเด็กนักเรียน และมีแผนประสานงานให้ทางโรงเรียนตามพื้นที่ต่างๆให้ข้อมูลและความรู้ รวมถึงคำแนะนำสำหรับทางออกที่ดีกว่า ให้กับนักเรียนแต่ละโรงเรียน



ทำไมถึงเกิดปัญหาเช่นนี้ขึ้น
สำคัญเลยเมื่อเกิดผลย่อมมีต้นเหตุ เด็กเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเกิดความกดดัน, ภาวะความเศร้า มาจากสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ ปัญหาส่วนตัวกับเพื่อนๆที่พวกเขาเจอ การทำร้ายร่างกายและความรุนแรงต่อกัน ทุกอย่างที่กล่าวล้วนเป็นสาเหตุสำคัญหลักๆ



กฎเกณฑ์ภาคบังคับที่ญี่ปุ่นได้มอบให้กับโรงเรียน
1.การปฏิบัติตามกฎของโรงเรียนในญี่ปุ่น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก
1.1ห้ามสวมใส่กางเกงรัดรูปมีสีสันสะดุดตาฉูดฉาด
1.2ห้ามย้อมสีผม
1.3มีสียางรัดผมบังคับ
1.4ห้ามนำยางรัดผมมาไว้ที่ข้อมือ
2.การบังคับให้นักเรียนของตนผู้มีสีผมน้ำตาล ย้อมสีผมกลบดำ
3.แม้แต่การสวมใส่เสื้อคลุมกับกางเกงรัดรูปก็เป็นหนึ่งในกฎ
4.ช่วงหน้าหนาว โรงเรียนบางที่กำหนดสีของชุดชั้นในที่นักเรียนยังต้องใส่มาเรียนอีกด้วย
แต่อย่าเพิ่งตกใจไปเพราะกฎดังกล่าวออกมาเพื่อที่จะกำจัดปัญหาความรุนแรง และการแกล้งกันภายในโรงเรียน และปัจจุบันก็เริ่มเข้มงวดมากขึ้น



ข้อดีของ “โรงเรียนอิสระ”
1.ไม่ต้องสวมเครื่องแบบยูนิฟอร์ม ไปเรียน
2.เลือกกิจกรรมหรือชมรมที่จะทำได้ตามอิสระ
3.ส่งเสริมให้นักเรียนทำตามสิ่งที่ตนชอบ ทักษะที่ตนมี
4.ห้องคอมพิวเตอร์รองรับสำหรับเรียน วิชาภาษาญี่ปุ่น, คณิตศาสตร์
5.ห้องสมุดรองรับ มีหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่น ไว้ให้นักเรียนได้ผ่อนคลาย
อีกข้อดีของโรงเรียนอิสระ กล่าวคือ เรื่องของการพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กนักเรียน ถือว่ามาเป็นเรื่องสำคัญแรก ที่พวกเขาจะทำ



ลักษณะความเป็นอยู่สำคัญของคนญี่ปุ่น
1.ความเป็นมิตร คือหัวใจหลักในการเอาตัวรอดในญี่ปุ่น
2.มีคนอาศัยเป็นจำนวนมาก ถ้าหากเราเข้ากับผู้อื่นไม่ได้ ก็จะเอาตัวไม่รอดไปโดยปริยาย
3.รถขนส่งสาธารณะมีความแออัด
4.เด็กๆหลายๆโรงเรียน มีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่น บางคนอาจรู้สึกอัดอั้นตันใจ





มีข้อคิดหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ กระทรวงศึกษาธิการรู้สึกไม่กังขากับการไม่ไปโรงเรียนของเด็กๆ
พร้อมให้เหตุผลว่าการที่นักเรียนมีพฤติกรรมเช่นนั้น เด็กไม่ใช่ตัวปัญหา แต่เป็นเพราะระบบการศึกษาไมได้ให้สภาพแวดล้อมที่ดีและความอุ่นใจแก่เด็กได้เลย

ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.bbc.com/news/world-asia-50693777
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หากเรายังจำความได้ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลขึ้นไปและไม่เกินชั้นประถม สำหรับประเทศไทยของเราจะเคยชินกับอาหารถาดหลุม ที่กับข้าวจะแตกต่างไปในแต่ละวัน  แล้วแต่ว่าทางห้องครัวของโรงเรียนจะจัดอะไรให้นักเรียนทาน วันนี้เราจะมาดูว่า นักเรียนในประเทศอื่นๆ 5 ประเทศ เขาทานอะไรกันเป็นอาหารกลางวัน
 
อย่าเลย อย่าเพิ่งไป 10 ประเทศนี้ ในช่วงนี้