ในยุคสมัยที่โลกเต็มเปี่ยมไปด้วยความเครียด ความเครียดเป็นที่มาของการเสียสุขภาพ แต่ความเครียดที่ตามมาด้วยผมหงอกก่อนวัยอันควรนั้นเป็นจริงหรือไม่ และอะไรในกลไกร่างกายมนุษย์ที่ทำให้หงอกเจริญเติบโตมาพร้อมๆกับความเครียด
หลายคนอาจตั้งคำถามว่า ผมหงอกก่อนวัยอันควรนั้นเป็นผลมาจากอะไร และร่างกายมนุษย์ทำงานอย่างไรให้ความเครียดเป็นผลตามมาของหงอก ปัจจุบันหลายคนก็ยังไม่ทราบคำตอบ ข่าวดีคือเราพอจะเริ่มรู้กระบวนการที่มาของการเกิดหงอกนี้แล้ว ต้องขอบคุณข้อมูลสำคัญของทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล ร่วมกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐฯ และคาดว่าชุดความรู้และงานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นผลดีนำมาซึ่งการสร้างยาป้องกันการเกิดผมขาวได้ในอนาคต
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองกับหนูขนสีดำอายุน้อย โดยการสร้างภาวะเครียดขั้นรุนแรงกับหนูทดลอง ผ่านพ้นหลังการทดลองมาได้ไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น หนูทดลองสีดำเหล่านั้นก็มีสีขนกลายเป็นสีขาวทั่วทั้งตัว พบสาเหตุว่า หนูสูญเสียเซลล์ต้นกำเนิด และหรือสเตมเซลล์สร้างเม็ดสี Melanin (เมลานิน) ไปอย่างมาก เป็นผลให้มาสามารถสร้างสีผมหรือสีผิวแต่เดิมได้
หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า หากหนูทดลองเกิดความกลัว ร่างกายมันจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน, คอร์ติซอล เป็นฮอร์โมนกลุ่ม “ความเครียด” จะมีอาการความดันโลหิตสูงขึ้นและหัวใจเต้นแรง เป็นผลให้ระบบประสาทเผชิญความเครียดอย่างรุนแรง และจะผลิตโปรตีน CDK ขึ้นมา ซึ่งมีหน้าที่เข้าไปทำลายสเตมเซลล์สร้างเม็ดสีของขน
หงอกมาได้อย่างไร?
จะมีกลไกหนึ่งชนิดเรียกว่า กลไกทางความเครียด มีความเครียดเมื่อไหร่มันจะเข้าไปทำลายเซลล์ Hair follicle เป็นสเตมเซลล์ผลิตเม็ดสีในรากผม
การแก้ปัญหา?
เมื่อมีการให้ยาลดความดันโลหิตกับหนูทดลองบางส่วนไป ผลปรากฏคือ ยาตัวนี้เข้าไปลดและยับยั้งการเกิดผมขาวในหนูพวกนี้ได้จริง กับอีกบางส่วนต้องใช้ยายับยั้งโปรตีน ก็จะไม่เกิดหงอกขาวในหนูทดลองกลุ่มหลังนี้ให้เห็น
ส่วนการใช้ยาทั้งหมดในหนูทดลอง ต้องย้ำว่าไม่ใช่การรักษาหรือแก้ปัญหาที่ดี ในมนุษย์ เพราะยังต้องมีการคิดค้นและศึกษาเรื่องนี้กันต่อไป ซึ่งอาจใช้เวลาในการวิจัยไม่น้อย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bbc.com/news/health-51208972