ON LOOKER

ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มใหม่ ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายจริง

17 ก.ย. 2562
อาการซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตอีกประเภทหนึ่งที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ และไม่ว่าจะคนชนชาติไหน ก็มีโอกาสเป็นกันได้หมด ยิ่งหากเราตามข่าวสารความเป็นไปของบ้านเรา ก็มักจะเห็นกันอยู่บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องจบชีวิตตนลงด้วยการฆ่าตัวตาย ไม่ว่าใครกำลังสงสัยว่าตนเป็นหรือไม่ ทางที่ดีการปรึกษาจิตแพทย์ไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่ากังวลอีกต่อไป แต่ยังทำให้เราได้รู้สาเหตุและหาหนทางการแก้ไข และสิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ว่าโรคนี้สามารถหายได้จริง หลังจากที่มีข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน นักวิทยาศาสตร์ก็ได้ค้นพบยารักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้ผู้ป่วยหายได้กับงานวิจัยสุดน่าทึ่ง



เรื่องนี้ได้มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งที่ถูกตีพิมพ์ในวารสาร “เดอะแลนเซ็ต” มีผู้เข้าร่วมทดสอบยาเหล่านี้กว่า 116,477 ราย ด้วยการทดลองกว่า 522 ครั้ง ผลปรากฏว่ายารักษาอาการโรคซึมเศร้าที่ใช้กันทั่วไปกว่า 21 ชนิด สามารถลดอาการซึมเศร้าเฉียบพลันได้ซึ่งได้ผลดีกว่ากลุ่มยา dummy pill หรือเรียกว่า ยาหลอก ซึ่งจากผลการศึกษาทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับประโยชน์จากยาเหล่านี้ จากที่ประเทศอังกฤษมีการจ่ายยาให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปี 2006 คิดเป็น 31 ล้านครั้ง และเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัวในปี 2016 ซึ่งมีการจ่ายยาไปทั้งหมด 64.7 ล้านครั้ง หลายฝ่ายก็ให้ความเห็นว่ายาเหล่านี้มันอาจจะใช้ได้จริงหรือไม่ก็ยังไม่รู้ แต่ในที่สุดทางด้านวิทยาลัยจิตแพทย์อังกฤษได้บทสรุปมาว่า งานวิจัยในครั้งนี้จบทุกการถกเถียงสำหรับเรื่องยารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ และพวกเขาได้ระบุเพิ่มเติมว่ายาที่ใช้ทำการทดลองทั้งหมด 522 ครั้งนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าในอัตราที่แตกต่างกัน คิดเป็น 1 ใน 3 หรือ 2 เท่าของยาเม็ดหลอก ถือได้ว่าเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้าที่ยากลุ่มนี้สามารถรักษาได้ตั้งแต่อาการซึมเศร้าในระดับกลางไปจนถึงซึมเศร้าเข้าขั้นรุนแรง ซึ่งเราจะเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆว่ากลุ่มยารักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลุ่มไหนที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด และกลุ่มที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพจ Bipolar คาดหวังว่าข้อมูลดังกล่าวนี้อาจมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้า



กลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุด เห็นผลน้อย
1.fluoxetine : ฟลูออกซิทีน
2.fluvoxamine : ฟลูวอกซามีน
3.reboxetine : รีบ็อกซีทีน
4.trazodone : ทราโซโดน

กลุ่มยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เห็นผลมาก
1.agomelatine : อะโกเมลาทีน
2.amitriptyline : อะมิทริปไทลีน
3.escitalopram : เอสซิตาโลแพรม
4.paroxetine : พาร็อกซีทีน



แต่ไม่ได้หมายความว่าหากคุณเป็นโรคซึมเศร้ามาอ่านงานวิจัยชิ้นนี้แล้วจะต้องเปลี่ยนตัวยาในทันที เพราะงานวิจัยนี้เขาดูที่ประสิทธิภาพของยาแต่ละตัวโดยเฉลี่ยเสียมากกว่า ไม่ได้เป็นงานวิจัยที่บ่งบอกว่ายาแต่ละตัวมีผลแบบไหนกับตัวคนไข้ เพราะแน่นอนว่าว่าอาการของคนไข้แต่ละคนก็จะหนักเบาแตกต่างกันไป ไหนจะปัจจัยทางด้านอายุ,เพศเข้ามาเกี่ยวข้องอีก เพียงแต่ว่าเรากำลังจะสื่อว่างานวิจัยชิ้นนี้นั้นเป็นประโยชน์สำหรับแพทย์เป็นอย่างมาก เพราะมันจะช่วยให้แพทย์จ่ายยาให้คนไข้ได้เหมาะสมมากขึ้นนั่นเอง ยิ่งถ้าหากคุณสามารถเข้าถึงการบำบัดทางจิตวิทยาได้ นั่นก็เป็นอีกเรื่องที่ดีและเป็นประโยชน์ในการรักษาควบคู่ไปกับการใช้ยา เพียงแต่ว่ายากลุ่มที่พวกเขาได้วิจัยนั้นสามารถช่วยและปรับอารมณ์ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าส่วนใหญ่ได้นั่นเอง

ท้ายที่สุดเป็นบทสรุปที่ว่า การวิจัยสุดน่าทึ่งชิ้นนี้แสดงหลักฐานสำคัญและเป็นที่พึงพอใจของทีม ในเรื่องประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ขณะที่มีรายงานในแง่ลบเกี่ยวกับยาซึมเศร้ามานานตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bbc.com/news/health-43143889
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หมดปัญหาการยืนทำงานนานๆจนเมื่อยขา เพราะนี่คือเก้าอี้ส่วนบุคคล ที่จะติดตัวผู้ใช้งานไม่ว่าเดินไปทางไหน เมื่อยตอนไหน อยากนั่งตอนใด ก็นั่งได้เลย
 
ผู้ที่ปั่นจักรยานเป็นประจำจะรักษาสภาพกล้ามเนื้อและความแข็งแรงของร่ายกายไว้ได้มากกว่า