โดยประเทศไทยเอง ไม่ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเรื่องการบรรเทาสาธารณะภัยแบบเฉพาะเจาะจง แต่จะดำเนินงานผ่านหน่วยงานที่มีชื่อว่า “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย” (Department of Disaster Prevention and Mitigation) หรือ ชื่อย่อ "ปภ."

ซึ่งการไม่มีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่รับผิดชอบแบบเจาะจงเวลาเกิดภัยพิบัติ ทำการการช่วยเหลือดำเนินอย่างล่าช้า ตัวอย่างเหตุการณ์เรือล่ม ทางไทยเราไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการออกทะเลเวลามีคลื่นมาก ดังนั้นจึงต้องรอดูลม พายุทางทะเล และระดับคลื่นก่อนถึงจะออกไปช่วยได้ แต่หากเป็นต่างชาติ อย่างประเทศอังกฤษ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จะออกช่วยเหลือทันที ไม่ต้องรอคลื่นลดเพราะจะมีหน่วยงานเฉพาะเจาะจงที่มีผู้เชี่ยวชาญผ่านการฝึกมาอย่างดีและพร้อมจะออกปฏิบัติงานได้เสมอ
หรืออย่างที่สหรัฐอเมริกา ก็จะมีสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency -EPA) หรือ "อีพีเอ" เป็นหน่วยงานระดับประเทศ หรือระดับรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่ดูแลปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และปกป้องสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ซึ่งได้แก่อากาศ น้ำและแผ่นดิน EPA เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2513 จัดตั้งโดยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน โดยมีผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้บังคับบัญชา โดยทางต่างประเทศจะมี 5 กองทัพคือหน่วยความมั่นคงในการช่วยเหลือ คือ กองทัพเรือ , กองทัพบก , กองทัพอากาศ , นาวิกโยธิน และ coast guard หรือ หน่วยยามฝั่ง
อ้างอิง : http://www.pdgth.com/site/index.php/hub/knowledge_management/read/18


ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกออกมาจากกองทัพเรือเพื่อทำภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางน้ำโดยไม่ต้องรอให้ลมพายุสงบ แต่สามารถเข้าช่วยได้เลยเพราะเป็นหน่วยงานที่มีผู้เชี่ยวชาญ และได้ฝึกมาในด้านนี้โดยเฉพาะ โดยภารกิจหนึ่ง ที่สำคัญและเป็นหน้าตาของหน่วยงานนี้คือ การค้นหาและกู้ภัย (Search and Rescue : SAR)ถ้าเทียบกับเมืองไทยก็คือตำรวจน้ำ
อ้างอิง : https://www.thairath.co.th/content/251201
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงบทเรียนต่อการจัดการ ซึ่งในอนาคตจะต้องมีมาตรปรับปรุงต่อไป นั่นก็คือ มีความไม่พร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดของประเทศไทย รวมทั้งได้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือต่างๆ ที่ยังไม่พร้อมให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีของหน่วยงานต่างๆแต่สิ่งที่เราได้เห็นนั้นทางเราได้รับความช่วยเหลือที่หลั่งไหลมาจากทั่วสารทิศ ทั้งจากคนไทยจำนวนมาก รวมถึงความช่วยเหลือจากนานาชาติที่ต่างคนต่างตั้งใจมาช่วยเหลือ และความรู้ ความสามารถที่ตัวเองมีมาใช้ในภารกิจครั้งนี้โดยไม่มีใครมุ่งหวังสิ่งตอบแทน และได้เห็นภาวะความเป็นผู้นำ การบริหารจัดการเหตุการณ์อย่างเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน จนทำให้การทำงานที่ระดมผู้คนจากหลายภาคส่วนมีประสิทธิภาพ
แต่ในอีกด้านของเหตุการณ์นี้ก็ยังมีบทเรียนอีกมากมายให้เราได้เรียนรู้เช่นกัน และจากเหตุการณ์นี้ก็ได้เป็นบทเรียนของคนไทยที่ควรเรียนรู้