ON LOOKER

ต้องอ่าน! ถ้าเป็นคนผัดวันประกันพรุ่ง

7 พ.ย. 2562
เคยไหมอยากทำอะไรสักอย่างแต่เรามักจะใช้การผัดวันประกันพรุ่ง ไว้ค่อยทำพรุ่งนี้,ทำพรุ่งนี้ยังทัน สิ่งเหล่านี้เป็นไปได้ว่าในบางรายเกิดขึ้นจากความขี้เกียจส่วนหนึ่ง แต่แท้ที่จริงแล้วลักษณะนิสัยเช่นนี้เป็นการก่อตัวของสมองในแบบที่แตกต่างไปของแต่ละบุคคลเป็นเรื่องที่ต้องจัดการบริหารอารมณ์ตัวเองมากกว่าเวลา
          
มีงานวิจัยที่ทำการสแกนสมองคนกว่า 264 คน พบว่ากลุ่มคนเหล่านี้จะมีสมองอยู่ 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งคือจะต้องทำและจัดการกับภารกิจที่อยู่ตรงหน้าให้เสร็จทันเวลา กับสมองอีกส่วนคือจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ

คนชอบผัดวันประกันพรุ่งจะมีส่วนสมองดังนี้

1.AMYGDALA เป็นส่วนสมองที่มีรูปลักษณะคล้ายกับอัลมอนด์ เป็นส่วนสมองที่ทำหน้าที่ผัดวันประกันพรุ่ง จะทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์และเหตุผลเป็นส่วนใหญ่
2.ส่วนล่างของสมองถูกเรียกว่า Anterior Cingulate Cortex สำหรับรายที่ชอบผัดวันประกันพรุ่งจะมีส่วนสมองส่วนนี้ไม่ดีเท่าหลายๆคนที่ไม่ได้มีนิสัยดังกล่าว ความมั่นคงในการจัดการกับธุระและสิ่งที่ต้องทำซึ่งหน้าน้อยกว่าคนอื่น

ลักษณะของคนที่มีส่วนสมอง AMYGDALA ใหญ่กว่าคนอื่นๆ

1.​​​​​จะมีความวิตกกังวลว่าหากทำสิ่งใดจะไม่ได้ผลดีตามที่ตนคาดหวังเอาไว้ ส่งผลให้อาจเป็นคนผัดวันประกันพรุ่งได้แบบไม่รู้ตัว
2.ผู้ที่มีปัญหาในการผัดวันประกันพรุ่งนั้นมักจะมีปัญหาใหญ่ในการจัดการกับอารมณ์ตัวเอง ปล่อยให้สมองส่วนนี้เข้ามาควบคุมความสามารถในการสร้างระเบียบของตัวเอง
3.แต่สมองเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด และมีความสามารถในการตอบสนอง มีหลายฝ่ายก็ระบุว่าการฝึกสมาธิก็มักจะช่วยให้สมองส่วน AMYGDALA หดตัวลงได้และอาจเป็นผลให้นิสัยผัดวันประกันพรุ่งลดน้อยลงจากที่เคยเป็น



หากมีนิสัยเช่นนี้จะต้องแก้ไขอย่างไร?

1.หลายคนที่มีงานต้องทำ แต่ทิ้งเวลาดังกล่าวไปทำอย่างอื่น ให้เหตุผลกับตัวเองว่าไม่ว่าง ทางแก้คือ ทำงานนั้นให้เสร็จ และต้องลงมือทำทันที
2.สิ่งรบกวนหรือสิ่งเร้าก็มีผล หลักๆเลยคือมือถือ ปิดโซเชี่ยล เปิดโหมดห้ามรบกวน ในช่วงเวลาที่คุณตั้งใจจะทำงานตรงหน้าให้เสร็จ จัดสรรเวลาเล่นและเวลาทำงานให้ดี เพื่อไม่ให้มีผลกระทบแง่ลบกับตนเอง
3.จดงานและสิ่งที่คุณต้องทำออกเป็นสัดส่วน และมุ่งหน้าทำตามเป้าหมายที่จดเอาไว้
4.กำหนดเวลาทำงานและเวลาพัก เช่นทำงานครึ่งชั่วโมง พัก 5 นาที หรืออาจจะกำหนด Deadline ในการทำงานของคุณ



ขอบคุณข้อมูลจาก: https://www.bbc.com/news/health-45295392
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
หลายประเทศให้ความสนใจกับการทำความเร็วให้กับรถตำรวจ เพื่อจับผู้ร้ายให้ทัน...

โครงการ Carbon Neutral Futures Initiative มีแนวโน้มการนำไปสู่การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมหาศาล