ON LOOKER

ฝันร้ายอาจมีประโยชน์

28 พ.ย. 2562
บางครั้งการนอนฝันร้าย ทำให้เรารู้สึกหวาดกลัวว่าสิ่งที่เกิดในฝันจะกลายเป็นความจริง บ้างก็ตีความไปต่างๆนาๆอย่างไม่มีขอบเขต แต่นี่อาจเป็นข่าวดีข่าวใหม่สำหรับคนที่มักจะนอนฝันร้ายเพราะทางอเมริกาและสวิสเซอร์แลนด์ได้ค้นพบว่า ความกลัวในความฝันในขณะเรากำลังหลับใหลทำให้สมองมีประสิทธิภาพดีขึ้นที่จะตอบสนองความกลัวในตอนที่คุณเริ่มตื่นขึ้น



ทีมนักประสาทวิทยาจากสองประเทศดังกล่าวจับมือกันทำงานเพื่อค้นหาความจริงว่า แท้ที่จริงการฝันร้ายที่ไม่รุนแรงจนเกินไป จะมีประโยชน์ต่อคนเราหรือไม่ แต่ถ้าหากพูดถึงในกรณีฝันร้ายขั้นรุนแรงนั้น แน่นอนว่าจะส่งผลในทางที่แย่มากกว่าที่จะเกิดเรื่องดีๆอยู่แล้ว แต่ถ้าหากเป็นฝันร้ายระดับกลางๆก็สามารถนำมาใช้รักษาโรคบางชนิดได้ เช่น anxiety disorder หรือโรคของคนที่ชอบวิตกจริตวิตกกังวลได้



หรือถ้าจะให้ระบุเป็นภาษาไม่เป็นทางการ ฝันร้ายก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เราสามารถรับมือ,เตรียมตัว หรือระมัดระวัง อันตรายที่จะเกิดขึ้นในความเป็นจริงได้ ก่อนหน้านี้ได้มีการทำการวิจัยให้ผู้ร่วมการทดสอบ จดบันทึกเรื่องราวความฝันของตัวเอง และให้ระบุว่าความรู้สึกขณะที่ฝันกับตอนตื่นมีความแตกต่างหรือเชื่อมโยงกันอย่างไร ซึ่งผลออกมาว่าฝันร้ายจะทำให้เราสามารถตอบสนองกับเหตุการณ์เลวร้ายได้ดีมากยิ่งขึ้น นั่นแปลว่าส่วนสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองต่อความกลัว จะทำงานได้ดีขึ้นเมื่อเราตื่นขึ้นจากฝันร้าย

หากจะระบุให้ง่ายขึ้นไปอีก ฝันร้ายเป็นเหมือนห้องซ้อม ที่ให้เราซักซ้อมกับเรื่องเลวร้ายที่อาจหรือไม่อาจเกิดขึ้นก็ได้ เพื่อเตรียมตัวสู่เวทีจริงนั่นคือ อันตรายหรืออุปสรรคที่จะเกิดขึ้น
แต่อย่างที่ระบุไว้ก่อนหน้านี้ว่าถ้าหากความฝันอยู่ในระดับที่น่ากลัวเกินไป นั่นจะเป็นการรบกวนการพักผ่อนของเรา นอกจากเราจะไม่ได้ผลประโยชน์อะไรจากมันเลย ยังส่งผลเสียในตอนที่เราตื่นนอนอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.bbc.com/news/education-50563835
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
สติยังเป็นสิ่งสำคัญเสมอ ก่อนถึงปีใหม่2018นี้ เราได้รวบรวมเรื่องราว13 หัวข้อที่คุณต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ จะได้สุขเต็มที่ไม่มีเศร้า
Hemant Attray และ Rajesh Kotta ได้ค้นพบวิธีการสร้างที่พักอาศัยรูปแบบใหม่ ซึ่งใช้เวลาในการสร้างเพียงแค่สองสัปดาห์เท่านั้น